
จักรยานยนต์ สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย
จักรยานยนต์เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยที่ร้อยละ 66 รองลงมาคือ รถเก๋ง ร้อยละ 19 เดินเท้า ร้อยละ 9 รถตู้ร้อยละ 3 และ อื่นๆ ร้อยละ 3 (จักรยาน สามล้อ บรรทุก รถบัส) ข้อมูลจากรายงานสุขภาพคนไทยปี 2560
สาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งคือพฤติกรรมการขับขี่ การเคารพกฎกติกา มารยาทและการมีน้ำใจในการใช้ถนนกับผู้ร่วมทาง ในปี 2558 พบว่า คนไทยขับขี่รถยนต์โดยคาดเข็มขัดนิรภัยทุกคร้ังร้อยละ 54.1 และขี่จักรยานยนต์โดยสวมหมวกกันน๊อกทุกครั้งร้อยละ 31.7 นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่น่ากังวล คือ การขับขี่ในขณะที่มีอาการมึนเมา หรือหลังดื่มแอลกอฮอล์ ในปี 2558 พบว่ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอลฮอล์ภายใน 1 ชม. หรือมีอาการมึนเมาขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 14.4 และขณะขับขี่รถยนต์ร้อยละ 8 (รายงานการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ)
อุบัติเหตุเป็นสาเหตุการตายอันดับสอง รองจากมะเร็ง โดยใน 2560 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนอุบัติเหตุ รวมทั้งสิ้น 327,925 ครั้ง มีผู้ทุพพลภาพ 1,380 คน บาดเจ็บ 374,839 คน เสียชีวิต 10,472 คน (จากรายงานสถิติการใช้สิทธิ พรบ.รายจังหวัด )
William Haddon Jr. (อ้างใน Peden M., 2004) ได้นำาเสนอ The Haddon Matrix ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 3 ปัจจัย คือ บุคคล ยานพาหนะ และสิ่งแวดล้อมในระหว่าง 3 ห้วงเวลาของอุบัติเหตุ คือ ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ซึ่งประกอบด้วย 9 ช่องที่เป็นผลลัพธ์ได้จำาลองระบบพลวัตหลายลักษณะขึ้นโดยแต่ละช่องจะเปิดโอกาสให้ใช้การเข้าแทรกแซงเพื่อลดการบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

แม้อุบัติเหตุจะมีเกิดขึ้นจากสัมพันธ์ระหว่าง 3 ปัจจัย คือ บุคคล ยานพาหนะ และสิ่งแวดล้อมในระหว่าง 3 ห้วงเวลาของอุบัติเหตุ ก็ตามแต่ปัจจัยด้านบุคคล และยานพาหนะ เป็นสิ่งที่เรามีความสามารถป้องกัน และควบคุมได้ เพื่อเป็นการโอกาสความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ร่วมหาทางการแก้ไขด้วยกัน โดยยึดหลัก 4 H ( Heart Help Hope How to )
Heart คือ การให้ความจริงใจ เข้าใจ เห็นอกเห็นใจ
Help คือการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการดำาเนินงาน
Hope คือการมองอนาคตวาเมื่อดำาเนินการไปแล้วจะได้ผลดีอย่างไร
How to การหาทางออก และวิธีการในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน